การฟ้องคดีอาญา

การฟ้องคดีอาญา

ในการฟ้องคดีอาญานั้นมีขั้นตอนที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดไว้คือ จะต้องเป็นบุคคลตามที่กฎหมายกำหนดจึงจะมีสิทธิฟ้องคดีอาญาได้ซึ่งบุคคบที่มีอำนาจฟ้อวคดีอาญาต่อศาลวางหลักไว้ในมาตรา28แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าได้แก่ พนักงานอัยการ ผู้เสียหาย มีเพียงสองบุคคลนี้เท่านั้นที่จะเป็นผู้ฟ้องคดีอาญาได้ ทั้งนี้รวมถึงการมอบอำนาจด้วยเช่นการที่ผู้เสียหายมอบอำนาจให้ทนายความฟ้องดำเนินคดีแทน

หากผู้เสียหายยื่นฟ้องเองแล้วได้เสียชีวิตลง บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีภรรยาจะดำเนินคดีแทนผู้ตายก็ได้ส่วนถ้าผู้เสียหายที่ตายไปเป็นผู้เยาว์ วิกลจริต ไร้ความสามารถ ซึ่งมีผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาลผู้แทนเฉพาะคดีฟ้องแทนไว้แล้วกรณีนี้ผู้ฟ้องแทนสามารถดำเนินการต่อไปได้เอง

ในคดีอาญาใดๆที่พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องไปแล้วผู้เสียหายจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในระยะเวลาใดก่อนการพิจารณาระหว่างศาลชั้นต้นพิพากษาก็ได้

ทั้งนี้คำสั่งไม่ฟ้องคดีของพนักงานก็ไม่ได้จะตัดสิทธิต่อผู้เสียหายในการฟ้องคดีด้วยตนเอง

โดยคดีอาญาที่ถอนฟ้องจากศาลไปแล้วจะนำมาฟ้องใหม่ไม่ได้เว้นแต่

ถ้าพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องคดีอาญาซึ่งไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัวแล้วได้ถอนฟ้องคดีนั้นไป จะไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีนั้นใหม่ได้เอง

ถ้าพนักงานอัยการถอนคดีซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัว โดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้เสียหาย การถอนดังกล่าวนั้นจะไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายในการนำคดีมาฟ้องใหม่เช่นกัน

ถ้าผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องคดีอาญาไว้แล้วได้ถอนฟ้องคดีนั้นเสีย การถอนนั้นไม่ตัดสิทธิอัยการที่จะยื่นฟ้องคดีใหม่เว้นแต่คดีนั้นเป็นความผิดต่อส่วนตัว

สิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับด้วยเหตุ

ความตายของผู้กระทำความผิด

ในความผิดต่อส่วนตัวเมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย

เมื่อคดีเลิกกัน เมื่อมีคำพิพากษาเด็ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้อง เมื่อมีกฎหมายออกภายหลังการกระทำความผิดมายกเลิกความผิดนั้น เมื่อคดีขาดอายุความ และเมื่อมีกฎหมายยกเว้นโทษ

#ทนายโตน

ใส่ความเห็น