ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
สวัสดีครับในบทความนี้ทางทนายโตนและทีมงานก็มีสาระความรู้ดีๆมามอบแก่ผูัติดตามลูกเพจทุกท่านเช่นเคยในโพสต์นี้จะเป็นเรื่องของภาษีกฎหมายภาษีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาว่ามีหลักเกณฑ์ในการจ่ายหรือไม่จ่ายอย่างไรตามที่กฎหมายกำหนด
ตามประมวลรัษฎากรได้กำหนดไว้ในมาตรา 40ได้มีการกำหนดวางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินไว้ว่า คือเงินได้ดังต่อไปนี้ที่รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงิน หรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่างๆไม่ว่าในทอดใด
หรืออีกนัยหนึ่งเงินได้พึงประเมินคือ เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้ เงินที่ได้กล่าวมานี้จะให้หมายความรวมถึงทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ที่อาจคิดคำนวณเป็นเงิน เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่างๆด้วย
การเสียภาษีจะต้องจ่ายต่อเมื่อเป็นรายได้สอดคล้องกับแหล่งที่มาที่ประมวลรัษฎากรกำหนดโดยจะจ่ายต่อเมื่อครบปีภาษีกล่าวคือเงินที่ต้องนำมาเสียจะคือเงินที่รับในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วกล่าวให้ง่ายกว่านั้นปีภาษีคือปฎิทินปกติดังนั้นหากรายได้เข้าเกณฑ์ และครบรอบปีพอดีก็ต้องมาเสียในที่สุด
เกณฑ์ที่เข้าข่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เงินที่ได้มาจากการจ้างงานไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำนาญ เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการที่นายจ้างให้อยู่โดยที่ไม่เสียค่าเช่า เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใดๆที่ลูกหนี้นั้นมีหน้าที่ต้องชำระและเงินทรัพย์สินใดๆหรือประโยชน์อื่นใดที่ได้เนื่องจากการงาน
กรณีแรกนี้ถือได้ว่าเป็นกรณีที่รายได้มาจากการจ้างแรงงานซึ่งก็จะสัมพันธ์กันกับส่วนอีกกรณีหนึ่งคือเงินที่ทำหรือรับจากการทำงานให้จะเรียกว่าเงินที่ได้จากการจ้างทำของก็ได้อาทิค่านายหน้าเป็นต้น
ส่วนจ่ายจริงๆเท่าไหร่นั้นต้องนำรายได้มาคำนวณภาษีตามฐานภาษีซึ่งจะได้กล่าวในepถัดๆไปและรวมถึงหลักเกณฑ์อื่นๆที่เข้าข่ายเงินได้พึงประเมินอีกด้วย
#ทนายโตน