ในการอุทธรณ์นั้นจะมีทั้งการอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายและการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงโดยในกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้นจะเน้นไปที่การจำกัดสิทธิในการอุทธรณ์โดยมีการจำกัดดังนี้

ตามมาตรา224ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมีการวางหลักทางกฎหมายในการจำกัดสิทธิในการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงโดยในคดีมีทุนทรัพย์ที่ไม่เกิน5หมื่นจะอุทธรณ์ไม่ได้รวมไปถึงการฟ้องขับไล่โดยที่ค่าเช่าไม่เกิน4000บาทก็จะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้เช่นกันส่วนคดีที่เป็นเรื่องสิทธิสภาพบุคคคดีฟ้องปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวนเป็นราคาเงินได้เหล่านี้ไม่ได้ต้องห้ามในการอุทธรณ์ซึ่งสิ่งที่จะไปอุทธรณ์ได้ในชั้นอุทธรณ์นั้นต้อองว่ากันมาโดยชอบแล้วในศาลชั้นต้นจะยกสิ่งที่ไม่ได้อยู่ในคำฟ้องคำให้การเดิมมาอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้เว้นแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายแล้วสอดคล้องกับหลักในมาตรา225ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งถึงจะทำได้

ส่วนตามมาตรา225เป็นการกำหนดข้อห้ามในการอุทธรร์ปัญหาข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงด้วยในคราวเดียวกันโดยการจะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามมาตรา225นั้นจะต้องชัดแจ้ง ว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้น และมีสาระอันสมควรแก่การวินิจฉัยโดยในการว่ากันมาโดยชอบแล้วในศาลชั้นต้นนั้นหากเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบและพฤติการณ์ไม่ได้เปิดช่องให้ยกมาในศาลชั้นต้นสามารถนำมาอุทธรณืได้ทั้งนี้การฟ้องเคลือบคลุมและประเด็นเรื่องอายุความไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบจึงไม่สามารถที่จะเอามาอุทธรณ์ตามมาตรา225ได้เพราะไม่ได้เข้าข้อยกเว้น

#ทนายโตน