กฎหมายการคลังถือเป็นส่วนหนึ่งในสาขากฎหมายมหาชนอันเป็น1ในกฎหมายในสมัยใหม่ที่พึ่งมีในยุคหลังซึ่งแม้ว่ากำหมายมหาชนนั้นจริงๆนักกฎหมายโรมันแยกความต่างีะหว่างเอกชนกับมหาชนได้มานานแล้วแต่แค่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับกฎหมายมหาชนมากขนาดนั้นดังนั้นแล้ว หลังจากการมีอยู่ของกฎหมายเอกชนอย่างนานมากๆจึงค่อยมีกฎหมายมหาชนตามมาและมาพร้อมกับการแยกระบบศาลกล่าวคือมีศาลในกฎหมายมหาชนอาทิศาลปกครองแยกออกมา
กฎหมายการคลังถือเป็นหนึ่งในกฎหมายมหาชนเหมือนกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง โดยกฎหมายการคลังหรือการคลังสาธารณะจะหมายถึง
กฎหมายที่พูดเกี่ยวกับการจัดการงบประมาณแผ่นดิน ทั้งมิติในด้านรายรับรายจ่ายของรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นเช่นเดียวกัน(ถ้าในอีกระนอบนึงจะหมายถึง รายรับรายจ่ายในภาคส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้รวมไปถึงการบริหารหนี้สาธารณะและการคลังของรัฐวิสาหกิจด้วยเช่นกัน
ในด้านหนึ่งเราอาจมองได้ว่ากฎหมายการคลังคือกฎหมายที่กล่าวถึง การบริหารรายรับรายจ่ายของภาครัฐว่ามีความครอบคลุมอย่างไรบ้างถึงอะไรทั้งนี้ก็ยังกล่าวถึงรายรับรายจ่ายในทางสาธารณะในทางหนี้สาธารณะเช่นเดียวกันในทางหนึ่งกฎหมายการคลังจึงพูดถึงรายรับรายจ่ายของภาครัฐว่าจะมาจากทางไหนได้บ้างมาจากภาษีประเภทใดเพราะท้ายที่สุดแล้วภาษีในทุกๆประเภทก็คือรายได้ของรัฐเช่นกัน
คำถามต่อมาแล้วรัฐจัดเก็บรายได้ผ่านกฎหมายการคลังในรูปของภาษีไปเพื่ออะไร
รัฐทำการดังกล่าวไปเพื่อการจัดทำบริการสาธารณะหรือpublic service และการจัดทำบริการสาธารณะดังกล่าวก็มีไปเพื่อประโยชน์สาธารณะแก่ประชาชนหรือpublic interest
ตัวอย่างกฎหมาย
อาทิพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังภาครัฐเป็นต้น
#ทนายโตน