สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่านในบทความสั้นๆนี้ทางเว็บไซต์ทนายโตนได้มีสาระความรู้ดีๆทางกฎหมายมาฝากทุกท่านเหมือนเดิมในบทความนี้เราจะมาพูดถึงคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญล่าสุดที่พึ่งออกมาเกี่ยวกับกรณีการฟ้องชู้ว่ามีรายละเอียดอย่างไรศาลมองเรื่องนี้อย่างไรและในมุมมองของทีมทนายความมองเรื่องนี้อย่างไรติดตามกันได้เลยครับ
กรณีดังกล่าวที่เกิดขึ้นเป็นการใช้สิทธิผ่านผู้ตรวจการแผ่นดินในการยื่นคำร้องเข้าไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ตามมาตรา1523วรรค2ที่ได้มีการวางหลักทางกฎหมายว่า สามีจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภรรยาไปในทำนองชู้สาวได้และภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยกับสามีตนไปในทำนองชู้สาวก็ได้
ทั้งนี้นั้นตามวิธีพิจารณาคดีในศาลรัฐธรรมนูญประชาชนไม่สามารถฟ้องคดีเองต่อศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรงเว้นแต่เข้าข้อยกเว้นที่หมดทางในการเยียวยาเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจริงๆการจะดำเนินคดีในศาลรัฐธรรมนูญได้ดังนั้นการฟ้องคดีต่อศาลรัฐธรรมนูญจึงต้องทำต่อองค์กรที่เสมือนเป็นตัวแทนในการยื่นคำร้องเพื่อฟ้องคดีแทนซึ่งนั่นก็คือศาลรัฐธรรมนูญ
ดังนั้นแล้วกลับมาที่ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้อีกรอบจากหลักกฎหมายดังกล่าวในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ทางผู้ตรวจการแผ่นดินจึงมองครับว่าการที่กำหนดหลักกฎหมายให้ผู้ชายสามารถฟ้องชู้ได้โดยที่ตามกฎหมายนั้นไม่ได้กำหนดว่าต้องเป็นเพศใดอันถือได้ว่าหลักกฎหมายนี้สอดคล้องกับพรบ.สมรสเท่าเทียมที่พึ่งออกมาจากรัฐสภา
แต่กระนั้นหากเรามองย้อนไปในมาตราเดียวกันที่ได้ยกมาในส่วนของฝ่ายหญิงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1523กลับบอกว่าภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยกับสามีของตนไปในทำนองชู้สาวก็ได้
การดังกล่าวนี้จึงเป็นเหตุให้ทางผู้ตรวจการแผ่นดินมองว่าหลักกฎหมายดังกล่าวนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญเหตุผลเพราะถือได้ว่าในหลักกฎหมายนีัเป็นการเลือกปฎิบัติโดยไม่เป็นธรรมด้วยอคติในเรื่องของเพศ
เพราะในฝั่งเพศหญิงสามารถฟ้องชู้ได้ในกรณีที่ชู้เป็นหญิงเท่านั้นส่วนชายสามารถฟ้องชู้ได้ในทุกกรณีไม่ว่าชู้จะถือเป็นเพศใดก็ตาม
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ออกมาจึงไม่ใช่เป็นกรณีการห้ามฟ้องชู้แต่เป็นกรณีการที่ศาลรัฐธรรมนูญต้องการที่จะให้อคติจากการเลือกปฎิบัติทางเพศหายไปและทั้งยังเป็นการที่ทำให้เกิดการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้สอดคล้องกับกฎหมายสมรสเท่าเทียมที่พึ่งออกมาใหม่จากรัฐสภา
#ทนายโตน