การลงโทษทางวินัยและการลงโทษทางอาญา
สวัสดีครับกลับมาพบกันอีกแล้วทางเพจและกลุ่มFacebook รวมถึงเว็บไซต์ของทนายโตนในบทความสั้นๆนี้คราวนี้จะเป็นหัวข้อเกี่ยวกับการลงโทษทางวินัยและการลงโทษทางอาญาว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไรแล้วถ้าไม่ผิดอาญาจะถือว่าไม่ผิดวินัยด้วยได้หรือไม่
ในส่วนการลงโทษทางวินัยนั้นจะเป็นการลงโทษที่เกี่ยวกับมิติในเรื่องของต้องการควบคุมข้าราชการเจ้าหน้าที่ของรัฐให้อยู่ในวินัยของทางราชการซึ่งเป็นการเน้นไปที่การควบคุมความประพฤติของทางข้าราชการ
ดังนั้นในการดำเนินการสอบสวนลงโทษวินัยจึงทำเพียงแค่หากมีพยานหลักฐานอันพอสมควรก็เพียงพอในการจะลงโทษผู้กล่าวหาแล้ว
ส่วนคดีอาญานั้น จะเป็นคดีที่เน้นมุ่งดูแลความสงบเรียบร้อยของคนในสังคม โทษทางอาญาเป็นโทษที่เน้นไปในการลงโทษในด้านที่จะเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพทรัพย์สินผู้กระทำความผิดดังนั้นการจะลงโทษคดีอาญาได้พยานหลักฐานต้องอยู่ในจุดที่สิ้นสงสัยเพราะงั้นคดีอาญาหากพบข้อสงสัยเพียงเล็กน้อยก็จะยกประโยชน์ให้แก่จำเลยทันที
ด้วยเหตุนี้จึงเคยมีเคสกรณีตัวอย่างในศาลปกครอง(คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.755/2561)
นายตำรวจท่านหนึ่งถูกให้ออกจากราชการเพราะประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงด้วยเหตุที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและมีอาวุธปืนไว้ในครอบครอง
โดยไม่มีเหตุ อันสมควร ในทางวินัยจึงถูกให้ออกจากราชการไว้ก่อน
แต่ท้ายที่สุดคดีนี้ศาลฏีกาก็ตัดสินว่าไม่ผิด ท้ายที่สุดจึงมีการดำเนินการผ่านศาลปกครองสูงสุดให้ยกเลิกคำสั่งดังกล่าวโดยผู้ฟ้องมองว่ามีเหตุที่เปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงในคดีอย่างเป็นสาระสำคัญจากคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ออกมา จึงมองว่าตนไม่ควรโดนให้ออกจากราชการ แต่ท้ายสุดแล้วศาลปกครองสูงสุดมองว่าไม่อาจจะนำคำพิพากษาศาลฎีกามาอ้างได้ด้วยเหตุที่ว่าในคดีอาญา กับการลงโทษทางวินัยมูลฐานคนละเหตุกันวิธีคิดวิธีในการพิจารณาคดีก็คนละแบบกัน
ดังนั้นแล้วครับจึงเท่ากับว่าศาลปกครองสูงสุดได้วางหลักผ่านคำพิพากษาศาลว่าโทษทางอาญากับโทษทางวินัยเป็นคนละเรื่องกัน