ปปท.
ปปท.หรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ โดยหน่วยงานนี้มีพันธกิจหน้าที่หลักๆเกี่ยวกับ
การปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
โดยปปท.จะมุ่งทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับนโยบาย มาตรการรวมไปจนถึงแผนพัฒนาการป้องกันปราบปรามการทุจริตที่มีอยู่ในภาครัฐ รวมไปถึงการกำกับดูแลตรวจสอบ เจ้าหน้าที่และหน่วยงานของรัฐ และติดตามรายงานข้อมูลการทุจริตในภาครัฐ
ปปท.จะมีอำนาจในการดำเนินการให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการปปท. และรับผิดชอบเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการปปท.
ทั้งนี้ปปท.ยังมีอำนาจ
ในการแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานอีกทั้งยังไต่สวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทุจริตในภาครัฐ ตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันปราบปรามการทุจริตรวมถึงกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกัน
และยังสามารถตรวจสอบกำกับติดตามให้หน่วยงานดำเนินการต่างๆให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาติทางราชการ หรือแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ที่มาจากการปฎิบัติงานของหน่วยงานรัฐ รวมไปถึงการดำเนินงานใดๆที่อาจเสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรง
ติดตามประเมินผลมาตรการในการป้องกันการทุจริตในภาครัฐ และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายมาตรการแผนพัฒนาป้องกันปราบปรามการทุจริตในภาครัฐและทำข้อเสนอแนะให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการป้องกันปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ และทำรายงานประจำปีเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
เหล่านี้เป็นหน้าที่หลักๆของปปท.หรือคณะกรรมการปราบปรามการทุจริตในภาครัฐซึ่งหน้าที่ต่างๆเหล่านี้จะถูกกำหนดเป็นหลักกฎหมายไว้ในพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2551
ปปท.เป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีซึ่งต่างกับปปช.ที่เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ความแตกต่างของปปท.กับปปช.คือ
ปปท.จะตรวจสอบเจ้าหน้าที่รัฐที่ดำรงตำแหน่งต่ำกว่าเจ้าหน้าที่ในระดับสูง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งระดับผู้อำนวยการขึ้นไป
ปปท.ถูกตั้งขึ้นมาเพราะมองว่าภาระหน้าที่ของปปช.นั้นมีมากเกินไปอีกทั้งมีการมองว่าประเทศไทยไม่มีองคืกรตรวจสอบในหน่วยงานรัฐเป็นของตนเองเพราะปปช.นั้นเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ โดยในยุคแรกปปท.นั้นอยู่ภายใต้กระทรวงยุติธรรม
ทั้งนี้ปปท.ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ในการไปบังคับให้เจ้าหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินแบบที่ปปช.มี
คณะกรรมการปปท.จะดำรงตำแหน่งได้4ปีหากพ้นวาระไปแล้วอาจได้รับการแต่งตั้งกลับมาอีกได้แต่ไม่สามารถดำรงตำแหน่งเกิน2วาระซึ่งจะแตกต่างกับปปช.ที่สามารถดำรงตำแหน่งถึง7ปีปต่เป็นได้เพียงวาระเดียว
#ทนายโตน
#ทนายคดีแพ่งนิติกรรมสัญญา คดีอาญา คดีปกครอง คดีอาญาทุจริตประพฤติมิชอบ
อ้างอิง
เอกสารประกอบคำบรรยายวิชากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
https://plus.thairath.co.th/topic/speak/103291 ปปท.มือปราบทุจริตภาครัฐ พวกเขาคือใคร ทำไมได้เงินเดือนเป็นแสน
www.pacc.go.th