ลักทรัพย์

ความผิดฐานลักทรัพย์มีหลายลักษณะและมีบทลงโทษแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับพฤติการณ์ของการกระทำความผิด ความผิดฐานลักทรัพย์ธรรมดา การกระทำความผิด คือ การเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไป โดยทุจริต (คือ มีเจตนาที่จะเอาทรัพย์นั้นไปเป็นของตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ และตัดกรรมสิทธิ์เจ้าของเดิมอย่างถาวร) ความผิดฐานลักทรัพย์ที่มีเหตุฉกรรจ์ การกระทำความผิด คือ การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ แต่มีพฤติการณ์พิเศษประกอบที่ทำให้การกระทำนั้นร้ายแรงขึ้น อาทิ (1) ลักทรัพย์ในเวลากลางคืน (2) ลักทรัพย์ในบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด อุทกภัย หรือในบริเวณที่มีอุบัติเหตุ เหตุทุกขภัยแก่รถไฟหรือยานพาหนะอื่น (4) ลักทรัพย์โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ (เช่น งัดแงะประตู หน้าต่าง รั้ว) (5) ลักทรัพย์โดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไป (เช่น ปีนรั้ว) (7) ลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิด หรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม (8) ลักทรัพย์โดยมีอาวุธติดตัวไปด้วย (9) ลักทรัพย์โดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป (11) ลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้าง หรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง (ลักทรัพย์นายจ้าง) (12) ลักทรัพย์ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ สัตว์ หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม หรือได้มาจากการกสิกรรมนั้น นอกจากนี้ยังมีความผิดฐานลักทรัพย์ที่มีเหตุฉกรรจ์ยิ่งขึ้น ได้แก่ การกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ เครื่องกล หรือเครื่องจักร ที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบอาชีพ การกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นของประชาชน หรือที่เก็บรักษาไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ เป็นการกระทำโดยแต่งเครื่องแบบทหารหรือตำรวจ หรือแต่งกายให้เข้าใจว่าเป็นทหารหรือตำรวจ หรือโดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือใช้ยานพาหนะ

ใส่ความเห็น