วิเคราะห์คำพิพากษาศาลปกครองกรณีคดีแอชตันอโศก

สวัสดีครับหลังจากห่างหายกันไปนานวันนี้ก็ทางทนายโตนและทีมงานได้มีเนื้อหาใหม่ๆมานำเสนอโดยในบทความนี้จะพาทุกท่านมาย้อนลึกถึงคดีนึงที่จริงๆก็ไม่เก่ามากได้ขึ้นศาลปกครองแล้วคดีนั้นก็คดีแอชตันอโศก

คดีนี้ได้เริ่มมาจากการสร้างคอนโดมิเนียมหรูกลางกรุงเทพฯซึ่งทำเลดังกล่าวนั้นติดกับห้างสรรพสินค้าterminal21ขณะเดียวกันก็ขวางที่พักอาศัยของชาวบ้านและขณะก่อสร้างก็ได้สร้างเหตุเดือดร้อนรำคาญ โดยเฉพาะในเรื่องเสียงขณะที่มีการก่อสร้างคอนโดมิเนียมหรูดังกล่าวขึ้น

โดยโครงการก่อสร้างดังกล่าวนั้นได้มีการร้องเรียนฟ้องร้องกันตั้งแต่เริ่มต้นก่อสร้างโครงการครับ โดยที่ผู้อยู่อาศัยในซอยสุขุมวิทที่19แยก2รวมไปจนถึงผู้ที่อยู่อาศัยในบริเวณข้างโครงการโดยพิพาทกันในเรื่องการรุกล้ำพื้นที่ประโยชน์สาธารณะ เพราะทางโครงการต้องใช้พื้นที่ของรถไฟฟ้าmrt ในการเดินทางเข้าออกโครงการ

ซึ่งผู้ฟ้องกับผู้ถุกฟ้องในคดีนี้คือ

สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนเป็นผู้ฟ้องคดี

ร่วมกับผู้ฟ้องคดีที่2ถึงที่16ซึ่งเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว

ส่วนผู้ฟ้องคดีนั้นแน่นอนว่าพอขึ้นศาลปกครองคู่กรณีฝ่ายหนึ่งย่อมเป็นเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวในทุกระดับรวมไปถึงบริษัทอนันดาซึ่งเป็นผู้ก่อสร้างโครงการดังกล่าวถึงเข้ามาเป็นส่วนนึงในคดีเพราะศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งเรียกเข้ามาโดยจะถือว่าเป็นผู้ร้องสอด

ทั้งนี้นั้นนะครับคดีนี้ก็ได้มีประเด็นในเรื่องของ

ใบอนุญาติก่อสร้าง ว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ทั้งในแง่เนื้อหาและกระบวนการในแง่เนื้อหาจะหมายถึงว่า และยังต้องพิจารณาอีกว่าโครงการดังกล่าวได้รุกล้ำทางสาธารณะหรือไม่ ประเด็นนี้ศาลมองว่าที่ดินที่เป็นที่ตั้งอาคารนั้นไม่มีด้านใดด้านหนึ่งของที่ดินยาวกว่า12เมตรติดถนนสาธารณะที่มีเขตกว้างไม่น้อยกว่า18เมตร เหตุนี้การอนุญาติให้ก่อสร้างโครงการนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ประเด็นต่อมาที่ศาลได้วินิจฉัย เป็นประเด็นที่ว่า การให้ความชอบเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และพอศาลได้พิจารณาไปแล้วว่าการก่อสร้างไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงทำให้ไม่ต้องไปวิเคราะห์ตัดสินในประเด็นที่ว่ารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ประเด็นที่สาม มีการพิจารณาว่า ถนนคั่นกลางไม่ใช่สาธารณะประโยชน์ ผู้ถูกฟ้องที่1และที่3จึงไม่ได้ละเลยต่อหน้าที่ ซึ่งผู้ถูกฟ้องที่1 ก็คือ ผู้อำนวยการเขตวัฒนาที่1 และผู้ถูกฟ้องที่3ก็คือผู้ว่ากทม.

และประเด็นพิพาทท้ายสุดในประเด็นที่สี่และที่ห้า

ผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับความเดือดร้อนการออกประกาศการอนุญาติให้ใช้ประโยชน์ที่ดินของผู้ถูกฟ้องที่สี่จึงไม่มีสิทธิในการฟ้องประเด็นนี้

หากกล่าววิเคราะห์โดยสรุปแล้ว

คดีนี้มีจุดน่าสนใจหลายอย่างไม่ว่าการที่ไม่มีเส้นทางในการตัดผ่านเข้าไปในคอนโดจนต้องไปขออนุญาติการรถไฟ กรณีเช่นนั้นจะถือได้ว่าเป็นการอนุญาติที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ในการให้ก่อสร้างคอนโดรวมถึงกรณีปัยหาความเดือดร้อนรำคาญที่มีต่อคนพื้นที่ในการก่อสร้างคอนโดมิเนียมดังกล่าวซึ่งในความเป็นจริงเเล้วนั้น ย่อมไม่ใช่แค่คอนโดมิเนียมในโครงการแอชตัน อโศก แต่โครงการก่อสร้างอื่นๆก็คงจะมีปัญหาความเดือดร้อนรำคาญต่างๆที่นำไปสู่มลพิษเช่นกัน

จึงนำมาสู่ประเด็นควรพิจารณาอีกครับว่า เราจะชดเชยกันอย่างไรต่อผู้ก่อสร้างโครงการและรวมไปถึงว่าเราจะชดเชยกันอย่างไรต่อผู้ที่ซื้อโครงการให้ใกล้เคียงกับความเสียหายที่เสียไปมากที่สุด

#ทนายโตน

ใส่ความเห็น