สืบเนื่องจากep.ที่แล้วที่ผมได้พาทุกท่านทำความรู้จักเกี่ยวกับโครงสร้างความรับผิดทางอาญาในข้อขององค์ประกอบภายนอก และในep.นี้ผมจะพามาดูเกี่ยวกับองค์ประกอบภายในและความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลก็จะถือได้ว่าเป็นการจบสิ้นขอโครงสร้างความรับผิดทางอาญาทันที
ตามประมวลกฎหมายอาญาแล้วนั้นองค์ประกอบภายในจะเน้นไปที่สาระสำคัญทางจิตใจกล่าวคือเราจะพิจารณาว่าการกระทำที่เข้าองค์ประกอบภายนอกที่เป็นการมีทั้งผู้กระทำ การกระทำ และวัตถุแห่งการกระทำ
โดยในแงองค์ประกอบภายในเราจะพิจารณาว่าในการกระทำที่เกิดขึ้นนั้น ผู้กระทำ เจตนา ประมาท หรือไม่เจตนาไม่ประมาท
ทั้งนี้การจะมีเจตนาได้นั้นจะต้องรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดกล่าวคือสมมุติว่าในความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ผู้กระทำก็ต้องรู้อยู่แก่ใจว่าการกระทำดังกล่าวที่ตนทำนั้นเข้าองค์ประกอบภายนอกของความผิดฐานนั้นในที่นี้ก็คือรู้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการฆ่าผู้อื่น
ขั้นตอนต่อมาถึงมาพิจารณาว่าการกระทำนั้นๆเป็นการกระทำโดยประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผล และเราจะมาดูในขั้นตอนสุดท้ายว่าการกระทำที่เกิดขึ้นสัมพันธ์กันกับผลไหม
ตัวอย่าง
เจตนาประสงค์ต่อผลจะเป็นลักษณะที่ผู้กระทำยืนใกล้ผูกถูกกระทำมากและก้ได้นำปืนเล็งที่หัวโดยที่ผู้กระทำก็ประสงค์ที่อยากจะฆ่าผู้ถูกกระทำเพราะมีความแค้นส่วนตัวกันมาตั้งแต่ต้น
ส่วนเจตนาย่อมเล็งเห็นผล เป็นกรณีผู้กระทำเห็นอยู่ว่าผลจะเกิดขึ้นตามที่จิตใจคนๆนั้นจะทราบถึงได้แต่ก็ไม่สนใจในสิ่งนั้น
ยกตัวอย่าง
ตามฎีกา2720/2528 จำเลยได้ผลักผู้เสียหายตกลงมาจากช่องเพดานโบสถ์ซึ่งสูงจากพื้นโบสถ์10เมตรโดยประมาณซึ่งพื้นโบสถ์นั้นเป็นซีเมนต์เรียบหากตกลงมากระทบย่อมถึงตายได้ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บกระดูกสันหลังหักถ้ารับการรักษาไม่ทันท่วงทีก็อาจพิการได้ตลอดชีวิต ดังนี้จำเลยย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำได้ว่าอาจจะทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายจำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย
#ทนายโตน