คำฟ้องvsคำร้องสอด

สวัสดีครับกลับมาพบกันอีกแล้วกับทางเพจและกลุ่มfacebookรวมไปถึงจนเว็บไซต์ของทนายโตนในทุกช่องทางในบทความนี้ก็จะมีสาระความรู้ทางกฎหมายสั้นๆที่อยากจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักซึ่งก็คือ

คำฟ้องคืออะไรมีรายละเอียดอย่างไรแล้วคำร้องสอดคืออะไรมีลักษณะอย่างไรติดตามอ่านกันได้เลยครับ

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งได้มีการวางหลักทางกฎหมายไว้ในมาตรา172ไว้ครับว่าคำฟ้องโจทก์ต้องเสนอข้อหาของตนผ่านการทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้นซึ่งคำฟ้องนั้นต้องแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับอันอาศัยเป็นหลักในข้อหานั้น

ซึ่งหลักกฎหมายดังกล่าวนั้นถือได้ว่าเป็นการอธิบายรายละเอียดคำฟ้องว่าคำฟ้องนั้นต้อง

1.ต้องทำเป็นหนังสือ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงเท่ากับว่าในการดำเนินคดีหากต้องการจะฟ้องคดีต้องทำเป็นหนังสือเท่านั้นตามแบบพิมพ์ศาลไม่สามารถที่จะฟ้องคดีด้วยวาจาได้

2.และคำฟ้องนั้นต้องแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับซึ่งอาศัยเป็นหลักในข้อหานั้น

ในที่นี้หมายความว่าในการฟ้องคดีนั้นผู้ฟ้องซึ่งก็คือโจทก์ต้องกล่าวมาในคำฟ้องให้แจ้งชัดว่าตนจะฟ้องในเรื่องอะไรโดยต้องฟ้องให้ชัดแจ้งว่าตนเองมีสิทธิตามกฎหมายไหนและขณะเดียวกันก็ต้องบรรยายให้แจ้งชัดครับว่าจำเลยนั้นเป็นผู้ที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์

คำร้องสอด

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57ได้วางหลักกฎหมายไว้ครับว่า บุคคลภายนอกที่ไม่ใช่คู่ความอาจเข้ามาเป็นคู่ความในคดีได้ด้วยการร้องสอด ซึ่งจะมีการร้องสอดอยู่โดย3กรณี

กรณีแรก ร้องสอดเข้ามาโดยสมัครใจเพราะเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อให้ได้รับความรับรองคุ้มครอง บังคับตามสิทธิที่ตนที่ตนมีอยู่

กรณีที่สอง เป็นการร้องสอดเข้ามาโดยสมัครใจเนื่องจากตนนั้นเเป็นผู้ที่มีส่วนได้เสียจากผลแห่งคดีนั้น

กรณีที่สามซึ่งเป็นกรณีสุดท้าย ได้มีการกำหนดหลักทางกฎหมายไว้ว่าเป็นการร้องสอดเข้ามาโดยที่ไม่ได้มีเจตนาเข้ามาด้วยตนเอง หากแต่เข้ามาเพราะถูกหมายเรียกให้เข้ามาในคดี

ลักษณะดังกล่าวข้างต้นถือเป็นลักษณะของคำร้องสอด

ทั้งนี้อาจจะทำให้เกิดข้อสงสัยขึ้นมาว่าแล้วคำร้องสอดถือเป็นคำฟ้องหรือไม่

มีหลักกฎหมายได้กำหนดไว้อีกครับในมาตรา1(3) เป็นการวางหลักทางกฎหมายเกี่ยวกับคำฟ้องไว้เพิ่มเติมครับว่า

คำฟ้อง หมายถึง กระบวนพิจารณาใดๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาล ไม่ว่าจะเสนอโดยเป็นวาจาหรือทำเป็นหนังสือ ไมว่าจะเสนอต่อศาลชั้นต้น อุทธรณ์ หรือฎีกา ไม่ว่าจะเสนอโดยขณะที่เริ่มคดีโดยทำเป็นคำฟ้องหรือคำร้องขอหรือเสนอในภายหลังโดยคำฟ้องเพิ่มเติมหรือแก้ไขหรือฟ้องแย้ง หรือโดยสอดเข้ามาในคดีไม่ว่าจะโดยสมัครใจ หรือถูกบังคับ หรือมีคำขอให้พิจารณาใหม่

ดังนั้นคำร้องสอดจึงถือเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งเช่นกัน

#ทนายโตน

ใส่ความเห็น