คดีคุ้มครองผู้บริโภค

สวัสดีครับกลับมาพบกันอีกครั้งกับทางทนายโตนและทีมงานและแน่นอนว่าในการพบกันทุกครั้งทางทนายโตนและทีมงาย่อมจะต้องมีสาระความารู้ทางกฎหมายดีๆมาฝากกันอย่างแน่นอน

โดยในโพสต์นี้จะเป็นเรื่องของคดีคุ้มครองผู้บริโภคว่าเหตุใดที่มาที่ไปทำไมต้องมาวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคแยกออกมาและทำไมถึงจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค

แง่แนวคิดของการมีกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคคือมุ่งไปเพื่อสร้างความเป็นธรรมในการทำสัญญา ชดเชยความเสียหายที่จะมีขึ้นรวมไปถึงการให้สิทธิแก่ผู้บริโภคในการจะได้รับข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการต่างๆ สร้างความเป็นอิสระในการเลือกหาสินค้า และสร้างความปลอดภัยในการใช้บริการ

เหล่านี้ถือเป็นประเด็นหลักๆที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคพ.ศ.2522มุ่งคุ้มครอง

โดยที่ในกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคจะมุ่งคุ้มครองใน2เรื่องหลักๆกล่าวคือ

เรื่องแรกคือการเยียวยาผู้บริโภคที่เป็นปัจเจกชนแต่ละราย

เรื่องที่สองคือการที่ต้องให้ผู้บริโภคนั้นได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าอย่างครบถ้วนและทั่วถึง

โดยสคบ.หรือคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจะมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำธุรกิจของผู้ประกอบการ

โดยประชาชนในฐานะที่เป็นผู้บริโภคหรือผู้ได้รับความเสียหายจากสินค้าอันตรายต่างๆ สามารถใช้สิทธิในการฟ้องร้องต่อแผนกคดีผู้บริโภคที่จะมีอยู่ในศาลแขวง ศาลจังหวัด และศาลแพ่งในทุกแห่ง

โดยสามารถยื่นฟ้องไม่ว่าจะทำโดยวาจาหรือกระทำโดยเป็นลายลักษณ์อักษรได้ทั้งนั้น จะฟ้องด้วยตนเองหรือโดยทนายความก็สามารถทำได้หรือจะให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคดำเนินการให้ก็ได้เช่นกันโดยไม่มีค่าฤชาะรรมเนียมใดๆในการดำเนินการ

คดีที่ศาลจะรับดำเนินคดีและพิจารณาเป็นคดีผู้บริโภค

คดีแพ่งที่ผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจมีข้อพิพาทซึ่งมาจากการบริโภคสินค้าและบริการ

คดีแพ่งที่ประชาชนได้รับความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย

คดีแพ่งที่เกี่ยวพันกับทั้งสองคดีข้างต้น

คดีอื่นๆที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นคดีผู้บริโภค

เหล่านี้ถือเป็นสาระความรู้ดีๆคร่าวๆที่ทุกๆคนหากทราบเรื่องเหล่านี้ไว้จะมีประโยชน์กับการใช้สินค้าและบริการอย่างแน่นอน

#ทนายโตน

#ทนายคดีแพ่งนิติกรรมสัญญา คดีอาญาคดีปกครองคดีอาญาทุจริตประพฤติมิชอบ

ใส่ความเห็น