ข้อแนะนำเมื่อเกิดคดีความ
ข้อแนะนำเมื่อเกิด
คดีความ
ข้อแนะนำ
ในกระบวนการยุติธรรม อาจไม่ต้องมีทนายความเลยก็ได้ ไม่มีกฎห้ามไม่ให้จำเลยหรือผู้ต้องหาแก้ต่างให้ตน แต่การไม่มีทนายคอยชี้แนะช่วยเหลือ ก็ทำให้ในหลายคดีซึ่งจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์หรือโดนกลั่นแกล้ง โดนใส่ความ เป็นชาวบ้านที่ไม่มีความรู้เรื่องกฎหมาย ต้องเป็นฝ่ายเสียเปรียบต่อสู้แก้ต่างเพื่อปกป้องความบริสุทธิ์ของตนในชั้นศาล จึงเป็นหน้าที่บทบาทของทนายความเพราะทนายต้องแก้ต่างแทนลูกความ ต้องมีความรอบรู้เรื่องกฎหมายมาก เพื่อมองหาช่องโหว่ สำหรับปกป้องลูกความ เมื่อมีข้อพิพาท ก็จำเป็นต้องหาทนายมาจะช่วยว่าความ แก้ต่างให้ในชั้นศาล หาทางใช้หลักฐานหรือข้อมูลโดยอาศัยช่องโหว่และการตีความตัวบทกฎหมาย เป็นผู้เจรจาตกลงผลประโยชน์หรือกรณีที่มีการยอมความกันนอกรอบ ถ้ายอมความกันได้ ถอนฟ้อง ชดใช้ค่าเสียหาย ไปจนถึงยอมรับสารภาพผิดเพื่อขอรับโทษลดลง ทนายจำเลยจึงมักไปตกลงกับอัยการหรือผู้พิพากษา เพื่อนำข้อเสนอการยอมความมาแจ้งให้ผู้ว่าจ้างฝ่ายตนได้มีทางเลือก บางครั้งอาจขอยอมลดหย่อนผ่อนโทษ โดยรับสารภาพไป ทนายความอาจต้องแก้ต่างให้คนที่อาจกระทำผิด มีโอกาสแพ้สูง โดยเฉพาะในคดีทางอาญาร้ายแรง หลักฐานเอาผิดค่อนข้างหนักแน่น แต่ถ้าสามารถว่าความแก้ต่าง แล้วกลับกลายมาเป็นฝ่ายชนะ ก็ทำให้คนอาชีพนี้มีสิทธิจะโดนผู้คนเกลียดชังอย่างช่วยไม่ได้