8611/2553
การที่จำเลยยืนยันข้อเท็จจริงว่าจำเลยเห็นโจทก์ร่วมหยิบเอาเศษสร้อยคอทองคำของจำเลยไปและไปและได้แจ้งความแก่พนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีโจทก์ร่วมในข้อหาลักทรัพย์ซึ่งเป็นข้อความอันเป็นเท็จ โดยจำเลยรู้ดีว่ามิได้มีการกระทำผิดในข้อหาลักทรัพย์เกิดขึ้น แต่กลับไปแจ้งความแก่พนักงานสอบสวนดังกล่าวว่าได้มีการกระทำผิดข้อหาลักทรัพย์อันเป็นเท็จเพื่อให้พนักงานสอบสวนเชื่อว่าได้มีความผิดข้อหาลักทรัพย์เกิดขึ้น เพื่อให้โจทก์ร่วมได้รับโทษ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จตาม ป.อ. มาตรา 137, 174 วรรคสอง ประกอบมาตรา 173 นอกจากนี้ จำเลยยังมีเจตนายังมีเจตนาแจ้งความเพื่อให้โจทก์ร่วมถูกดูหมิ่นเกลียดชังและเสียชื่อเสียง จึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมอีกด้วย
หมิ่นประมาทเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาที่เน้นมุ่งคุ้มครองชื่อเสียงของบุคคลเป็นสำคัญโดยการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้นจะต้องเป็นกรณีที่ ใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่3จึงเป็นเหตุให้เสียชื่อเสียง การใส่ความนั้นต้องเป็นการกล่าวหาแสดงความให้ร้ายผู้อื่นประเด็นสำคัญก็คือต้องมีบุคคลที่3รับรู้ทั้งนี้ในปัจจุบันจะมองว่าการหมิ่นประมาทนั้น ยิ่งจริงยิ่งผิด เมื่อเป็นเช่นนี้ข้อความที่จะกล่าวหาในการหมิ่นประมาทนั้นจะจริงหรือไม่จริงไม่ใช่เรื่องสำคัญ
ฎีกาข้างต้นที่ยกมาเป็นฎีกาที่สะท้อนความเกี่ยวข้องของการหมิ่นประมาทและการแจ้งความเท็จในคดีนั้น
#ทนายโตน