การทำแท้ง

ในรัฐเสรีประชาธิปไตยสิทธิส่วนบุคคลสิทธิมนุษยชนถือเป็นเรื่องใหญ่เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วสิทธิในเนื้อตัวร่างกา่ยซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งในสิทธิมนุษยชนสากลตามปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจึงเป็นเรื่องสำคัญ

ด้วยเหตุนี้ในบางมุมการพรากชีวิต1ชีวิตไปจึงไม่สามารถจะทำได้เหตุนี้ที่ผ่านมาการทำแท้งจึงเป็นข้อถกเถียงที่เกิดขึ้นในสังคมว่าควรทำหรือไม่ควรทำอีกทั้งยังมีแง่มุมทางศาสนามาสอดรับกับปัญหาในการถกเถียงกรณีทำแท้งอีกเช่นกันว่าสามารถทำได้หรือไม่

ท้ายที่สุดมีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาให้สามารถทำแท้งได้อย่างเสรีโดยมีการแก้ไขดังนี้

จากประมวลกฎหมายอาญาเดิมที่วางหลักทางกฎหมาย

เอาผิดกับหญิงที่ทำแท้งโดยมีโทษจำคุก3ปีปรับไม่เกิน60,000บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

และมีข้อยกเว้นเดิมในการทำแท้งที่จะไม่เป็นความผิดคือ แพทย์เป็นผู้กระทำโดยที่ จำเป็นต้องกระทำเหตุเพราะมาจากสุขภาพของฝ่ายหญิง อีกกรณีหนึ่งคือหญิงมีครรภ์จากการกระทำความผิดทางเพศ

โดยส่วนที่ได้มีการแก้ไขกฎหมายขึ้นก็คือ

กำหนดให้หญิงทำให้ตนแท้งลูกหรือยอมให้ตนแท้งลูกโดยอายุครรภ์เกิน12สัปดาห์ โดยปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

และในประมวลกฎหมายอาญาที่แก้ไขมาใหม่ยังได้กำหนดอีกว่า

มาตรา 305 เพิ่มเหตุยกเว้นความผิดแก่หญิงที่ทำให้ตนเองแท้ง หรือผู้ที่ทำให้หญิงแท้งโดยหญิงยินยอมไว้กว้างขึ้น หากเป็นการกระทำของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภาในกรณีดังต่อไปนี้ ผู้กระทำไม่มีความผิด

(1) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากหากหญิงตั้งครรภ์ต่อไปจะเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายต่อสุขภาพทางกายหรือจิตใจของหญิงนั้น

(2) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากมีความเสี่ยงอย่างมากหรือมีเหตุผลทางการแพทย์อันควรเชื่อได้ว่าหากทารกคลอดออกมาจะมีความผิดปกติถึงขนาดทุพพลภาพอย่างร้ายแรง

(3) หญิงยืนยันต่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมว่าตนมีครรภ์เนื่องจากมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ ประมวลกฎหมายอาญาเดิมก็กำหนดเหตุยกเว้นความผิดที่คล้ายกันไว้ แต่มีประเด็นปัญหาว่า คดีความผิดเกี่ยวกับเพศนั้นต้องมีการดำเนินคดีในกระบวนการยุติธรรมหรือไม่ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบเป็นภาระของหญิงที่จะทำแท้งว่า ต้องพิสูจน์ถึงการกระทำผิดดังกล่าวอันอาจส่งผลต่อจิตใจ ในมาตรา 305 (3) ใหม่จึงกำหนดเพียงให้หญิง “ยืนยัน” ด้วยตนเอง ก็จะไม่เป็นภาระต่อหญิงที่ต้องพิสูจน์ถึงการถูกกระทำทางเพศ

(4) หญิงซึ่งมีอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์ โดยการนับระยะเวลานั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์รณกรณ์ บุญมี อาจารย์ประจำศูนย์กฎหมายอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้อธิบายไว้ในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่านับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งล่าสุด

(5) หญิงซึ่งมีอายุครรภ์เกินสิบสองสัปดาห์ แต่ไม่เกินยี่สิบสัปดาห์ ยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์ภายหลังการตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของแพทยสภาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

หากกล่าวโดยสรุปคือ ณ ปัจจุบันหลังจากมีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญสภาผู้แทนราษฎรจึงมีการแก้ไขให้หากมีอายุไม่เกิน12สัปดาห์สามารถทำแท้งได้เป็นต้น

#ทนายโตน

#ทนายคดีแพ่งนิติกรรมสัญญาคดีอาญาคดีปกครองคดีอาญาทุจริตประพฤติมิชอบ

อ้างอิง

ใส่ความเห็น