การพิจารณาองค์ประกอบของคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8973/2561

  • การพิจารณาว่าคำฟ้องของโจทก์ครบองค์ประกอบความผิดหรือไม่ ต้องพิจารณาจากคำฟ้องโจทก์เท่านั้น ส่วนเอกสารท้ายฟ้องแม้เป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องก็เป็นเพียงส่วนแสดงข้อเท็จจริงและรายละเอียดเท่านั้น ไม่อาจนำเอกสารท้ายฟ้องและคำเบิกความของโจทก์มาพิจารณาประกอบกับคำฟ้องด้วยการกระทำอันจะเป็นความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตาม ป.อ. มาตรา 157 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 11 นั้น ต้องเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยเจ้าพนักงานผู้กระทำมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดด้วย เมื่อไม่ปรากฏว่าการใช้ดุลพินิจของจำเลยทั้งยี่สิบสี่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งยี่สิบสี่ย่อมไม่เป็นความผิดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว โจทก์มิได้บรรยายฟ้องด้วยว่า จำเลยทั้งยี่สิบสี่กระทำการตามคำฟ้องโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์หรือไม่ อย่างไร คำฟ้องโจทก์ในข้อนี้จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 11

ในฎีกานี้เป็นกรณีตัวอย่างที่ศาลฎีกาได้วางหลักว่า การพิจารณาองค์ประกอบของคำฟ้องนั้น จะเพียงแต่พิจารณาในตัวคำฟ้องเท่านั้นไม่ได้รวมถึงเอกสารท้ายคำฟ้องแต่อย่างใด โดยที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งหมดว่าได้กระทำการปฎิบัติหรือละเว้นการปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบแต่ในคำฟ้องก็ไม่ได้มีการบรรยายฟ้องว่าจำเลยมีเจตนาพิเศษที่จะกระทำปฎิบัติหรืองดเว้นการปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อเกิดความเสียหายแก่โจทก์ด้วยเหตุนี้ศาลชั้นต้นจึงยกฟ้องโจทก์จึงได้นำคดีสู่ชั้นอุทธรณ์และฎีกาในเวลาต่อมาจึงเกิดเป็นคำพิพากษานี้ขึ้นมา

#ทนายโตน

#ทนายคดีแพ่งนิติกรรมสัญญาคดีอาญาคดีปกครองคดีอาญาทุจริต

ใส่ความเห็น