โครงสร้างความรับผิดทางอาญาep.2

หลังจากep.ที่แล้วนะครับที่ผมได้เกริ่นไปว่าเมื่อมีการกระทำใดๆเกิดขึ้นเราต้องนำมาพิจารณาประกอบการวินิจฉัยโดยยึดตามโครงสร้างความรับผิดทางอาญาซึ่งหากขาดองค์ประกอบไปสักข้อแล้วการกระทำที่เกิดขึ้นจะไม่ถือเป็นความผิดทางอาญาทันทีโดยที่เราไม่จำเป็นต้องไปดูองค์ประกอบข้ออื่นๆอีก

โดยองค์ประกอบภายนอกจะเน้นไปที่สาระสำคัญของการกระทำนั้นๆครับโดยพิจารณาจาก ผู้กระทำในที่นี้ย่อมเป็นบุคคลไม่ใช่นิติบุคคล(บุคคลสมมุติในทางกฎหมายไม่ว่าจะบริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล)

การกระทำคือสิ่งที่ได้กระทำออกมาแล้วไปมีผลต่อบุคคลหนึ่งและท้ายสุดคือวัตถุแห่งการกระทำคือสิ่งที่ถูกมุ่งหมายจากผู้กระทำว่าจะกระทำต่อสิ่งนี้

ตัวอย่าง

ตามมาตรา288ในประมวลกฎหมายอาญาได้วางหลักทางกฎหมาย ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ดังนั้นพอเรามองไปที่ข้อเท็จจริงประกอบกับข้อกฎหมายที่เกิดขึ้นแล้ว ผู้ใดคือผู้กระทำในที่นี้หากเป็นบุคคลที่มีสภาพบุคคลตามกฎหมายกล่าวเริ่มเมื่อคลอดอยู่รอดเป็นทารกสิ้นสุดลงเมื่อตายหรือเอาให้เข้าใจง่ายๆคือคนทั่วไปที่ไม่ใช่นิติบุคคล

ไปมีการกระทำก็คือการฆ่าหรือการทำให้ผู้อื่นเสียชีวิตเช่นนำไปไปเล็งที่หัวนาย ก ในระยะใกล้มากๆเพียงไม่กี่เมตรซึ่งอยู่ในวิสัยที่แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่นาย ก จะหลบได้ แล้ววัตถุที่มุ่งกระทำก็คือบุคคลหรือมนุษย์ผู้อื่นดังเช่นในตัวอย่างที่ยกมาในข้างต้นก็คือนาย ก ถือปืนเล็งไปที่หัวนาย ข ในระยะใกล้มากๆเมื่อพิจารณาครบแล้วเราจะพบว่าการกระทำดังกล่าวเข้าองค์ประกอบภายนอกแล้วส่วนจะเป็นการกระทำที่เจตนาหรือไม่เจตนา ประสงค์ต่อผลหรือไม่ประสงค์ต่อผลติดตามกันได้ep.หน้าครับสำหรับep.นี้ สวัสดีครับไว้พบกันใหม่

#ทนายโตน

ใส่ความเห็น