กฎหมายหนี้

หนี้
ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ อนึ่งการชำระหนี้ด้วยการงดเว้นการอันใดอันหนึ่งย่อมมีได้

หลักกฎหมายดังกล่าวได้ถูกวางหลักไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อันสื่อถึงลักษณะของความเป็นหนี้ของการเกิดขึ้นของหนี้

กล่าวคือเมื่อมีหนี้เกิดขึ้น เจ้าหนี้ก็ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้แต่ทั้งนี้นั้นหนี้ หรือมูลหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ได้หมายถึงแค่หนี้ที่ต้องชำระกันเป็นเงินเท่านั้นกล่าวคือ

หนี้นั้นจะมีทั้ง
หนี้กระทำการ
หนี้งดเว้นกระทำการ
หนี้ส่งมอบทรัพย์

โดยหนี้กระทำการคือ การเป็นหนี้ใดๆที่ไม่ใช่การโอนทรัพย์สินให้แก่กันยกตัวอย่างเช่น
การรับจ้างร้องเพลงการรับจ้างถ่ายรูปเพราะหากผู้รับจ้างไม่กระทำการดังกล่าวให้กล่าวคือการถ่ายรูปการร้ิองเพลงก็จะถือได้ว่าผู้รับจ้างไม่ชำระหนี้ถือเป็นการผิดนัด

หนี้ส่งมอบทรัพย์ คือหนี้ที่ลูกหนี้จะต้องส่งมอบทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่เจ้าหนี้ ซึ่งอาจจะเป็นการโอนกรรมสิทธิ์หรือส่งมอบการครอบครองในทรัพย์สินใดๆก็ได้

ยกตัวอย่าง การโอนความเป็นเจ้าของในอสังหาริมทรัพย์

หนี้งดเว้นกระทำการคือเป็นหนี้ที่ผูกพันว่าจะไม่กระทำการบางอย่าง อาทิเช่นผู้ขายกิจการค้าอาจให้สัญญาแก่ผู้ซื้อว่าจเะไม่ประกอบกิจการการค้านั้นในท้องถิ่นแห่งเดียวกัน

#ทนายโตน

ใส่ความเห็น